ความหมายของนวัตกรรม
การประยุกต์เอาความรู้ ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ
ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน
หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ความหมายของเทคโนโลยี
แนวคิด หลักการ เทคนิค
วิธีการกระบวนการตลอดจนผลิตผลทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ
เพื่อปรับปรุงระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล
ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ
วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา สรุปได้4 ประการ คือ
.....1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) แผนการศึกษาของชาติ
ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded
School)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching
Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction)
.....2. ความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่
- ศูนย์การเรียน (Learning
Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School
within School)
- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional
Development in 3 Phases)
.....3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible
Scheduling)
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open
University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์
.....4. ประสิทธิภาพในการเรียน นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ
การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์
แบบเรียนสำเร็จรูป
- ชุดการเรียน
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
3. ทฤษฎีระบบ
4. ทฤษฎีการเผยแพร่
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคลทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus-Response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory) และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur, 1966) อธิบายว่า บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น และความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
5.ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s
Taxonomy)
Bloom เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า
การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น
ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
และได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า
มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย
และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy
of Educational objectives
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ
อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
1.1 ความรู้ (Knowledge)
เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆและระลึกเรื่องราวนั้นๆออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
1.2 ความเข้าใจ (Comprehension)
เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก
ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์
(Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ
กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา
นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
1.4 การวิเคราะห์ (Analysis)
เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆได้อย่างชัดเจน
1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis)
เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป
การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้
2. จิตพิสัย (Affective Domain)(พฤติกรรมด้านจิตใจ)จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ
ได้แก่
1.การรับรู้
2. การตอบสนอง
3. การเกิดค่านิยม
4. การจัดระบบ
5. บุคลิกภาพ
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor
Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)ประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้
2.กระทำตามแบบ
3.การหาความถูกต้อง
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
6.ทฤษฎีการเรียนรู้ 8
ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
• การจูงใจ ( Motivation
Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
• การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
(Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
• การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ
( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
• ความสามารถในการจำ (Retention
Phase)
• ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
(Recall Phase )
• การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว
(Generalization Phase)
• การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (
Performance Phase)
• การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน
( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ ( Gagne) คือ
• ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
• สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
• การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)
• เร้าความสนใจ
มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูด
สายตา
ความอยกรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน
การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
• บอกวัตถุประสงค์
ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่า
บทเรียนเกี่ยวกับอะไร
• กระตุ้นความจำผู้เรียน
สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถ
ทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน
โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับ
แนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
• เสนอเนื้อหา
ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป
กราฟฟิก
หรือ เสียง วิดีโอ
• การยกตัวอย่าง
การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
• การฝึกปฎิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม
เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง
เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
• การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น
การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
• การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
• การนำไปใช้กับงานที่ทำ
ในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น