หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน


ความหมายของจิตวิทยา
การศึกษาเกี่ยวกับจิตหรือวิญญาณ ( Study of mind หรือ Study of soul ) ต่อมา มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำ หรือกระบวนการคิด พร้อมๆ กับการศึกษาเรื่องสติปัญญา ความคิด ความเข้าใจ การใช้เหตุผล
ความสำคัญของจิตวิทยา
1.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
2.ช่วยในการแก้ปัญหาทางจิต รู้จักวิธีรักษาสุขภาพจิตได้ดี
3.สามารถเข้าใจ ตัดสินใจ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในสังคม
4.ช่วยในการวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ขอบข่ายของจิตวิทยา

1.จิตวิทยาทั่วไป
 (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตฺวิทยาสาจาอื่นต่อไป
2.จิตวิทยาพัฒนาการ
 (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.จิตวิทยาสังคม
 (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน
4.จิตวิทยาการทดลอง
 (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง
5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology)
 นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ
6.จิตวิทยาคลีนิค
 (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้
7.จิตวิทยาประยุกต์
 (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้นT
8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม
 (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน
9.จิตวิทยาการศึกษา
 (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา
10.จิตวิทยาการทดลอง
 (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต


ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา
หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี

จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา

1.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
2.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ระเบียบวิธีการศึกษาทางจิตวิทยา จำแนกได้ 7วิธี ดังนี้
1.วิธีทดลอง (Experimental Method) 
การทดลองสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ
2.วิธีการตรวจสอบจิต (Introspection) 
เป็นการให้บุคคลสำรวจตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวน และความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีตที่ผ่านมา
3.วิธีใช้แบบทดสอบ (Testing Method) 
เป็นการใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆพฤติกรรม โดยให้ผู้รับการทดลองเป็นผู้ทำแบบทดสอบ ซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติก็ได้
4.วิธีสังเกต (Observation) 
การสังเกตมี 2 ลักษณะ คือ การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน และการสังเกตอย่างมีแบบแผน สำหรับการสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน เป็นวิธีสังเกตธรรมชาติ ไม่มีการเตรียมการหรือการวางแผนล่วงหน้า
5.วิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) 
เป็นวิธีการศึกษาในการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจในสิ่งนั้น วิธีนี้ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นการตั้งปัญหา
 (Problem) เป็นการตั้งประเด็นปัญหาที่สนใจ ต้องการศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหานั้น
- ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
 (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
- ขั้นการรวบรวมข้อมูล
 (Collecting Data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นให้มากที่สุด และต้องวางแผนไว้ว่าจะสามารถหาข้อมูลได้ด้วยวิธีใด เช่น การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การทดลอง
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
 (Analysis of Data) เป็นการนำข้อมูลต่างๆที่ได้มานำแปลความหมายด้วยกาสรวิเคราะห์ตามหลักสถิติ
- ขั้นการสรุปผล
 (Conclusion) เป็นการสรุปผลและรายงานผลที่ได้จาการศึกษาค้นคว้าและนำผลนั้นไปใช้ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อไปด้วย
6.วิธีการศึกษารายกรณี (Case Study Method) 
เป็นการศึกษาชีวประวัติความเป็นมาของบุคคลซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ พิจารณา ตีความเพื่อให้เขาใจความเป็นมาในอดีตและช่วยชี้ให้เห็นปัญหาที่บุคคลนั้นกำลังเผชิญอยู่ ทำให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาและพฤติกรรมปัจจุบัน
7.วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) 
เป็นวิธีการที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถทำได้ทั้งอย่างมีแบบแผนและไม่มีแบบแผน จุดประสงค์เพื่อต้องการรู้รายละเอียดและทำให้เข้าใจในตัวบุคคล
 ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
-  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน   
 วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
 1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
 2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
 

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก

แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1.กลุ่มโครงสร้างจิต (Structuralism)
- วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)
- ทิชเชนเนอร์ (Titchener)
- เฟชเนอร์ ( Fechner)
บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง Wundt เชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ
1.การสัมผัส (Sensation)
2.ความรู้สึก (Feeling) ต่อมา ทิชเชนเนอร์ (Tetchier) ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก 1 ส่วน คือ
   จิตนาการ (Image)

2. กลุ่มหน้าที่จิต (Functionalism)
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์
วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา


3.กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behavior)
- วัตสัน (John B.Watson)
- พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
- ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
- ฮัล (Clark L.Hull)
- โทลแมน (Edward C.Tolman)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาเฉพาะ พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)
4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
- ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
- แอดเลอร์ (Alfred Adler)
- จุง (Carl G.Jung)

ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น 3 ส่วน
1.จิตสำนึก (Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา
2.จิตใต้สำนึก (Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
3.จิตไร้สำนึก (Unconscious)
ฟรอยด์เน้นความสำคัญเรื่อง จิตใต้สำนึก (Subconsious) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจต่าง ๆ และการศึกษาเรื่องพัฒนาบุคลิกภาพกับโครงสร้างของบุคลิกภาพจิตของมนุษย์แยกเป็น 3 ลักษณะ
1.(Id) ส่วนที่ยังไม่ได้ขัดเลา แสวงหาความสุขความพอใจโดยถือตัวเองเป็นหลัก
2. (Superego) ส่วนที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนที่คิดถึงผิดชอบชั่วดี คิดถึงคนอื่นก่อนตัดสินใจอะไรลงไป
3. (ego) ส่วนที่เป็นตัวตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในสภาพการณ์นั้น ๆ ทำความประนีประนอมระหว่างส่วนที่ยึดความสุขส่วนตัว กับส่วนที่รู้จักผิดชอบชั่วดี
5. กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
- เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
- คอฟกา (Kurt Kofga)
- เลอวิน (Kurt Lewin)
- โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
Gestalt นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ ถ้าจะให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์เดิม พฤติกรรมการเรียนรู้มี 2 ลักษณะ
1. การรับรู้ (Perception) เป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้
2. การเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง การแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ การหยั่งเห็น (Insight) เมื่อมีการการหยั่งเห็นเมื่อใดก็สามารถแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ช่วยในเรื่องการรับรู้และการเรียนรู้ของคนและนำไปใช้ได้มากในการจัดการเรียนการสอน


ประโยชน์ของจิตวิทยา

1.      ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
2.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์
3.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
4.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
5.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
6.      ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
7.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
8.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของ
        ตนเอง
9.   ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต รู้วิธีการ
       บำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น
10. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
11. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม (Social Perception)ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำ
       ความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมี
        ประสิทธิภาพ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น